ตำบลไผ่ บ้านเมืองน่าอยู่ อู่ข้าวอู่น้ำ งามล้ำหอมแดง แหล่งพุทธศาสน์ ประชาราษฎร์ สามัคคี
๑. สภาพทั่วไป
๑.๑ ลักษณะที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ ตั้งอยู่หมู่ที่๔ ตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๔๐
๑.๒ เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๓๘ ตารางกิโลเมตร
๑.๓ ภูมิประเทศ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลน้ำอ้อม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสร้างปี่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
๑.๔ เขตการปกครอง
มีจำนวนหมู่บ้านในเขตการปกครองทั้งหมด ๑๒ หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่ ๑ บ้านไผ่
หมู่ที่ ๒ บ้านดอนมะเกลือ
หมู่ที่ ๓ บ้านหนองดุม
หมู่ที่ ๔ บ้านเมี่ยง
หมู่ที่ ๕ บ้านคูสระ
หมู่ที่ ๖ บ้านหนองยาง
หมู่ที่ ๗ บ้านคูสระน้อย
หมู่ที่ ๘ บ้านหัวหนอง
หมู่ที่ ๙ บ้านไผ่
หมู่ที่ ๑๐ บ้านคูสระใหม่
หมู่ที่ ๑๑ บ้านไผ่
หมู่ที่ ๑๒ บ้านดอนกลาง
๑.๕ จำนวนประชากร
จำนวนประชากรทั้งสิ้น ๕,๑๒๑ คน เป็นชาย ๒,๕๒๖ หญิง ๒,๕๙๕ คน
๒. สภาพทางเศรษฐกิจ
๒.๑ อาชีพ
- อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน
- อาชีพเสริม ปลูกหอมแดง ปลูกกระเทียม
๒.๒ หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- ปั้มน้ำมันและก๊าซ จำนวน ๒ แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน ๑ แห่ง
- โรงสี จำนวน ๒๔ แห่ง
๓. สภาพางสังคม
๓.๑ การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคูสระ จำนวน ๑ แห่ง
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่
๑. โรงเรียนบ้านไผ่
๒. โรงเรียนบ้านคูสระ
๓. โรงเรียนบ้านเมี่ยงแคนดวน
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่
๑. โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม
๓.๒ สาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล/ หมู่บ้าน จำนวน ๑ แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน จำนวน - แห่ง
๓.๓ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ศูนย์ อปพร. จำนวน ๑ แห่ง
- ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย อบต.ไผ่ จำนวน ๑ แห่ง
๓.๔ ทรัพยากรธรรมชาติ
- แหล่งน้ำธรรมชาติ
๑. ลำน้ำ,ลำห้วย จำนวน ๒ แห่ง
๒. บึง หนอง และอื่นๆ จำนวน ๑๒ แห่ง
- แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
๑. ฝาย จำนวน ๑ แห่ง
๒. บ่อน้ำตื้น จำนวน ๑๖ แห่ง
๓. บ่อน้ำโยก จำนวน ๓ แห่ง
๔. หนอง จำนวน ๒ แห่ง
- ป่าตามธรรมชาติ
ป่าดงดวนมีพื้นที่ ๓๔๘ ไร่ อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่ ๑๐ และหมู่ ๕
ศักยภาพในองศ์การบริหารส่วนตำบล
องศ์การบริหารส่วนตำบลไผ่ เดิมเป็นสภาตำบลไผ่ และได้รับการยกฐานะจากตำบลไผ่ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นองศ์การบริหารส่วนตำบล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๐ สภาปัจจัยขององค์การบริหารส่วนตำบล ที่ตั้ง และลักษณะชุมชน ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่มีเนื้อที่ ๔๐ ตารางกิโลเมตร จำนวน ๒๕,๐๐๐ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้าน ๑๒ หมู่บ้าน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ การพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่มีลำดับความสำคัญสูง ดังนี้
วิสัยทัศน์
“สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”
พันธกิจ
1) สร้างสังคมเป็นธรรมและเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาคทุกภาคส่วนได้รับการเสริมพลังให้สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐที่โปร่งใส เป็นธรรม
2) พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง
3) พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญา สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
4) สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนรวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
คู่มือการปฏิบัติงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | |
คู่มือการปฏิบัติราชการองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ | |
คู่มือการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน |